บันทึกอนุทินครั่งที่ 12
วันศุกร์ ที่ 5 เมษายน 2562 เวลาเรียน 08:30-11:30 น
วันศุกร์ ที่ 5 เมษายน 2562 เวลาเรียน 08:30-11:30 น
เวลาเลิกเรียน 11:30 น อ. กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
ในสัปดาห์นี้เพื่อนๆเริ่มนำเสนอจากที่ไปสัมภาษณ์โรงเรียนต่างๆเเต่ล่ะกลุ่มก็จะมีความเเตกต่างกัน เเต่กลุ่มมีความเเตกต่างในคำถาม
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhddlWxHb-1rmGTjtb2tgM_P_qlWbdfe8T6YHutNXRL-5LcCNP8_qRKfA-2F0spRIHjyBjcmEfhpOvZ5P0tROnNsmUNz22rdDlh2OsYHhLsOkPgRm8N5KAeOAsVyUDckz7yuepnWv5tGcwL/s200/56696993_385389888710990_4743358866635358208_n.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEid1UYzZjlhuF4qQd3Rqx316mARATwNHSSaTNGis0_icYdJEyAIItXafweFavER6bMC90qsX0YhG-ozuddEuu6-jxu0B3wQnBNYJYtINnZyGvD-8Cz0-rqGhS_j4nn425BDk59rVoSSRzuk/s200/57168327_2036628076640836_1603517145084329984_n.jpg)
และในสัปดาห์ที่ผ่านๆมาคือดิฉันยังไม่ได้รายงานเกี่ยวกับการอบรบเลี้ยงดูสำหรับเด็กปฐมวัยอาจารยืเลยให้รายงานในสัปดาห์นี้เเทนซึงของดิฉันมีเนื้อหาดังนี้
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
ในการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น คุณครูและผู้ปกครองสามารถกำหนดเป็นขั้นตอนอย่างง่าย ดังตัวอย่างที่ผู้เขียนกำหนดเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นนำ
เด็กช่วยคิดหาเมนูอาหารที่สนใจร่วมกับคุณครูหรือผู้ปกครอง และสนทนาเกี่ยวกับวัตถุดิบ ส่วนผสม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร ว่ามีอะไรบ้าง
2. ขั้นปฏิบัติ
เมื่อเด็กได้จัดเตรียมวัตถุดิบและส่วนผสมที่จะนำมาปรุงอาหารในเมนูที่คิดแล้ว ให้ช่วยกันล้าง หั่น และปรุงสุก ทั้งนี้ ก่อนการประกอบอาหาร ให้คุณครูและผู้ปกครองแนะนำขั้นตอนในการทำอาหาร พร้อมทั้งแนะนำวิธีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้กับเด็ก เพื่อความปลอดภัยทุกครั้งที่ทำกิจกรรมด้วยค่ะ
3. ขั้นสรุป
เมื่อเด็กทำการประกอบอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เด็กเล่าประสบการณ์การทำงานและขั้นตอนการทำงานว่าทำอย่างไร แล้วช่วยกันสรุปว่าเมนูที่ทำนั้นมีสีสัน กลิ่น รสชาติ เป็นอย่างไร ส่วนผสมและเครื่องปรุงใส่อะไรไปเท่าไหร่ รวมทั้งเครื่องปรุงแต่ละชนิดมีรสชาติเป็นอย่างไร เป็นต้น
ประโยชน์ของการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
กิจกรรมการประกอบอาหาร หรือกิจกรรม Cooking เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน สร้างความตื่นเต้นและเป็นสิ่งเร้าในการจัดการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก การจัดกิจกรรมนี้ จะไม่เน้นในผลงานของอาหารที่ทำสำเร็จ แต่อยู่ที่กระบวนการและขั้นตอนในการทำกิจกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็ก ดังนี้
1.ส่งเสริมทักษะด้านร่างกาย
การที่เด็กได้หั่นผัก หั่นผลไม้ ตักเกลือหรือน้ำตาลใส่ลงในหม้อ เทเครื่องปรุงและส่วนผสมลงไปในกระทะ การปั้นแป้งทำขนมหรือแม้กระทั้งการล้างผักหรือล้างอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น ล้วนเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กให้กับเด็ก นอกจากนี้ยังช่วยฝึกในเรื่องการประสานสัมพันธ์มือและตาของเด็กให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วยค่ะ
2.ส่งเสริมทักษะด้านอารมณ์
เด็กจะได้ฝึกการควบคุมอารมณ์และรอคอย เช่น เด็กบางคนใจร้อน อยากให้อาหารสุกเร็ว ๆ แต่ถ้าเอาอาหารออกจากเตาก่อนเวลา ก็จะได้กินอาหารที่ไม่สุก เป็นการให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของตัวเอง ว่าทำไมต้องรอ ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ที่ดีและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
3.ส่งเสริมทักษะด้านสังคม
เด็กจะได้รับการพัฒนาทักษะทางสังคม ผ่านการทำงานร่วมกับผู้อื่นหรือการทำงานเป็นกลุ่ม ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ พัฒนาการสื่อสารระหว่างกัน เด็ก ๆ จะได้วางแผนและรู้จักการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ มีการแบ่งปัน มีน้ำใจ ช่วยเหลือและมีพฤติกรรมการเอื้อเฟื้อ มีความรับผิดชอบ รู้จักการปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเองอีกด้วยค่ะ
4.ส่งเสริมทักษะด้านภาษา
เด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ จากวัตถุดิบ อุปกรณ์ และส่วนผสมที่นำมาใช้ในการประกอบอาหาร เช่น ถ้วย ชาม กระทะ เตาอบ ผักกาด แครอท น้ำปลา น้ำตาล เป็นต้น นอกจากนี้เด็ก ๆ ยังได้พัฒนาทักษะการพูดและการฟัง ผ่านการพูดคุยสนทนาตอบโต้กับคุณครูหรือผู้ปกครอง และเพื่อน ๆ หรือการแสดงความคิดเห็นในระหว่างการทำกิจกรรม Cooking
5.ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์
เด็กจะได้เรียนรู้และสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงของวัตถุดิบ เมื่อนำมาปรุงจนสุกจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การใส่เครื่องปรุงต่าง ๆ เช่น เกลือ น้ำตาล น้ำปลา ฯลฯ ถ้าใส่มากจะมีรสชาติอย่างไร ใส่น้อยจะมีรสชาติอย่างไร นอกจากนี้ ยังได้ฝึกฝนทักษะการเปรียนเทียบ การจำแนกประเภท การจัดกลุ่มของวัตถุดิบและส่วนผสมที่ใช้ในการประกอบอาหาร
6.ส่งเสริมทักษะด้านคณิตศาสตร์
เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะด้านคณิตศาสตร์ จากการชั่ง ตวง วัดเครื่องปรุง และส่วนผสมต่าง ๆ การเรียงลำดับ การนับจำนวน และการกะปริมาณ
7.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
การให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดจานอาหาร เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางผัก การราดซอสและการจัดเรียงผลไม้ นอกจากนี้การให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมในการเลือกเมนูอาหาร ก็ถือเป็นการกระตุ้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กอีกด้วยค่ะ
8.ช่วยกระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
กิจกรรมการประกอบอาหาร จะช่วยกระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัสของเด็กได้เป็นอย่างดี เช่น “ตา” มองเห็นวัตถุดิบและส่วนผสมต่าง ๆ “มือ” ได้สัมผัสผิวของวัตถุดิบ ผักและผลไม้ต่าง ๆ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร “หู” ฟังคำสั่งและคำแนะนำจากคุณครูหรือผู้ปกครอง ว่าขั้นตอนถัดไปคืออะไร ต้องทำอะไรต่อ เสียงสับหมู เสียงเครื่องครัวทำงาน “จมูก” ได้กลิ่นของอาหาร กลิ่นของเครื่องปรุงต่าง ๆ “ปาก” ชิมรสชาติของวัตถุดิบ เช่น เกลือมีรสเค็ม น้ำตาลมีรสหวาน หรือชิมเพื่อรู้ว่าอาหารที่ทำมีรสชาติอย่างไร ต้องเติมรสชาติไหนจึงจะได้รสอย่างที่ต้องการ
9.ช่วยสร้างสุขนิสัย สุขอนามัย และโภชนาการ
เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการและอาหารหลัก 5 หมู่ เช่น การทำผัดผักรวม เด็กจะเรียนรู้ว่าผักมีประโยชน์ให้วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เนื้อหมูให้สารอาหารประเภทโปรตีน และไขมัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยสอนให้เด็กเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และช่วยปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการรับประทานอาหารให้กับเด็ก
การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารนอกจากจะช่วยส่งเสริมทักษะด้านต่าง ๆ ให้กับเด็กแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความคิดรวบยอด ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากรูปธรรม ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมตามวัย
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjF50tQ-cvujnYJyZtRcYWYGZ_HK48vDY7kDaVYg8cHZU4y4O66Gi8x6sdNAIBtd4AgTJ0vQLJv7DrjZh_CDxBg7u_UdConiz34Hzt6EXsFUXahQO9KeB3ptDtONVprsPtxy6JW_l8WQpcP/s1600/7q5.gif)
รูปภาพบรรยากาศ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhBXaUdmoxx9Ft_09VfBQzAdf1u0W66yya6DLSAnoeAb9Vl2TBsIxZJx8phZWn3P8kR2SVFijvm9bWNlArAsmUnfkxzCb-48ec2j7JQTTVuj9c53bhVTUsVvz4h0hw25KevIgFrQ3jCXpAH/s200/56764536_414900472662382_9088098837821652992_n.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjcaUGkDGcvnv3VmiZMpnvanNcBhtZwioglpi2oD1QAvp3wheknRD9BWjNwwCF4N5Uc5-YA9uNpiSUMhRWaN6VqkY3TunLTE0dsnUcbRT4EJzGgrjGKWWCPp9vkWdcHk7Iq8tnlDJ2X7r3O/s200/56567301_2305433536409197_3939731547380252672_n.jpg)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น